Pages

Thursday, July 9, 2020

บูรณาการระบบโทรมาตร เตือนภัยน้ำป่า น้ำท่วม ล่วงหน้า - ผู้จัดการออนไลน์

andisendi.blogspot.com


โทรมาตร เป็นเครื่องมือวัดค่าต่างๆ ในลำน้ำ เช่น ปริมาณฝน ปริมาณน้ำท่า อัตราการไหลของน้ำ ระดับน้ำ คุณภาพน้ำ เป็นต้น แล้วส่งข้อมูลทางไกล ณ ช่วงเวลาขณะนั้น (Real Time) เข้าสู่ระบบฐานข้อมูล เพื่อใช้สำหรับประมวลผลประกอบการตัดสินใจ

เป็นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) แทนคนในการบันทึกจัดเก็บข้อมูล ซี่งคนมีข้อจำกัดทุกด้าน ไม่อาจบันทึกข้อมูล ความถูกต้อง และไม่ทันเวลาต่อการใช้งาน ในขณะระบบโทรมาตรออกแบบให้บันทึกข้อมูลได้หลากหลาย ความถี่ในการบันทึก และความแม่นยำ เป็นต้น

ปัจจุบัน ประเทศไทยมีสถานีโทรมาตรติดตั้งกว่า 5,700 แห่ง เป็นของหลายหน่วยงาน หลักๆ ได้แก่ กรมทรัพยากรน้ำ 2,000 แ ห่ง กรมชลประทาน 1,200 แห่ง กรมอุตุนิยมวิทยา 1,000 แห่ง สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) 500 แห่ง เป็นต้น
“แต่ใช้การได้จริงไม่ถึงครึ่งหนึ่ง” ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) กล่าว

เป็นผลจากการที่ สทนช. เข้าไปบูรณาการข้อมูลจากระบบโทรมาตร เพื่อใช้ประโยชน์ในการบริหารจัดการน้ำที่ทันท่วงที เน้นป้องกันล่วงหน้า มากกว่าแก้ปัญหาหลังน้ำหลาก น้ำท่วมแล้ว จากเดิมทีที่ต่างคนต่างทำ จึงไม่แปลกที่ระบบโทรมาตรต่างมีทิศทางการบริหารคนละทาง ตั้งแต่ความเหมาะสมของจุดติดตั้งโทรมาตร การออกแบบการทำงานของสถานีโทรมาตรที่ต้องสอดประสานกัน หรือสอดคล้องกับบริบทข้อมูล เพื่อใช้ประโยชน์คุ้มค่ามากขึ้น กว้างขวางขึ้น ทันสถานการณ์ขึ้น
สถานีโทรมาตรจำนวนมากกว่าครึ่งที่ใช้การไม่ได้ มีทั้งปัญหาเรื่องระบบไฟฟ้าที่ใช้ ระบบการส่งสัญญาณข้อมูล รวมถึงเกณฑ์มาตรฐาน เป็นต้น ซึ่งต้องปรับปรุงกันอีกครั้งให้ใช้งานให้เกิดประโยชน์สูงสุดจากการลงทุนไปแล้ว

ในขณะเดียวกัน ยังมีพื้นที่ที่จำเป็นต้องติดตั้งสถานีโทรมาตร แต่ยังไม่มี โดยเฉพาะในพื้นที่ป่าไม้และอุทยานแห่งชาติ ซึ่งเป็นแหล่งต้นน้ำที่ข้อมูลมีความหมายต่อพิ้นที่ด้านล่างมาก แต่ในขณะนี้มูลนิธิเพื่อนพึ่ง (ภา) ยามยาก ได้เข้าไปสนับสนุนการติดตั้งใน 16 พื้นที่ป่าต้นน้ำ เพื่อเพิ่มพื้นที่จำเป็นในการใช้ประโยชน์จากข้อมูลน้ำ และใช้ข้อมูลเพื่อลดการสูญเสียทรัพย์สินและชีวิตประชาชน

“อย่างแรกสุด เราคัดเลือกสถานี 270 แห่งใน 22 ลุ่มน้ำหลัก เป็นสถานีหลักหรือแหล่งข้อมูลในการใช้งานวัดน้ำฝน น้ำท่า คุณภาพน้ำ เป็นต้น ต่อไปจะกระจายสถานีรองไปตามจุดต่างๆ ในระดับจังหวัด เพื่อเสริมให้ข้อมูลมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น และสามารถใช้เพื่อแจ้งเตือนภัยในพื้นที่ได้เช่นกัน” ดร.สมเกียรติกล่าว

ในอนาคต การติดตั้งระบบโทรมาตรยังคงมีความจำเป็นในฐานะเครื่องมือในการจัดเก็บข้อมูลในระยะไกล เพื่อใช้ประโยชน์ในการบริหารจัดการน้ำ แต่จะกำหนดกฎเกณฑ์ใหม่ที่รัดกุมขึ้น ใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น

ทั้งนี้ หน่วยงานหลักในการรวบรวมข้อมูลสารสนเทศน้ำนั้น ได้มอบหมายให้สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำฯ เป็นหน่วยงานหลักรวบรวมและเชื่อมข้อมูลกับ สทนช. และประชาชนสามารถเข้าไปดูข้อมูลที่ประมวลแล้วได้ในเว็บไซต์ของทั้งสองหน่วยงาน

ดร.สมเกียรติ กล่าวถึงประโยชน์ของข้อมูลเตือนภัยว่า ล่าสุดกรณีพายุปาบึกพาดผ่านประเทศไทยที่ อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช มีการใช้ข้อมูลเหล่านี้ในการวางแผนเตือนภัยและป้องกัน ช่วยลดการสูญเสียได้มาก มีผู้เสียชีวิตเพียง 5 คน เปรียบเทียบกับกรณีพายุโซนร้อนแฮเรียตในพื้นที่เดียวกัน มีคนเสียชีวิตร่วมพันคน เมื่อปี 2505

“เราอาจสูญเสียทรัพย์สินไปบ้าง แต่รักษาชีวิตคนได้มาก ถือว่าคุ้มค่ามาก คนไทยเองก็ตื่นตัวเรื่องภัยพิบัติธรรมชาติมาก ทั้งกรณีอุทกภัยที่ จ.เพชรบุรี หรือที่ จ.อุบลราชธานี มีการติดตามข่าวอย่างใกล้ชิด ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากในการบริหารจัดการข้อมูลในเชิงป้องกัน มากกว่าการตามแก้ไขเหตุการณ์ทีหลัง”

เทคโนโลยีสารสนเทศ สามารถใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อคุณภาพชีวิตคนไทย ดังกรณีระบบโทรมาตร เตือนภัยเรื่องน้ำเป็นตัวอย่างที่จะเห็นได้ชัดขึ้นทั้งในปัจจุบันและอนาคต

Let's block ads! (Why?)



"เตือนภัย" - Google News
July 09, 2020 at 12:54PM
https://ift.tt/38MKIb2

บูรณาการระบบโทรมาตร เตือนภัยน้ำป่า น้ำท่วม ล่วงหน้า - ผู้จัดการออนไลน์
"เตือนภัย" - Google News
https://ift.tt/3gMpGg7

No comments:

Post a Comment